วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Chapter 9 : E-Government



ความหมาย e-government  หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์  ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
        1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
        2.ทำให้รัฐและการบริการเข้าถึงได้มากขึ้น
        3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
        4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
          e-government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ   และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน   และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ   และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น  โดยการใช้เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง  และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการ  ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนําไปสู่การลดคอรัปชั่น
          e-government กับ e-services มีความเกี่ยวพันกันมาก กล่าวได้ว่า e-government เป็นพื้นฐานของ e-services เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจําเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย   และทําให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศ กันได้  การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ  รวมทั้งองค์ความรู้ของหน่วยงานเป็นพื้นฐานสําคัญของการให้บริการของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็น  one-stop service  เป้าหมายปลายทางของ e-government  ไม่ใช่การดําเนินการเพื่อรัฐ            แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น e-government คือประชาชนและภาคธุรกิจ e-government เป็นโอกาสที่จะขยายศักยภาพของการให้บริการแก่ประชาชน ไม่เฉพาะภายในประเทศ แต่รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทํางานของภาครัฐนั้นเอง
           หลัก e-Government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชําระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดําเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สําคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
§ B2C ภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer)
§ B2B ภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business)
§ G2G ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government)
§ G2C ภาครัฐสู่ปร ะชาชน (Government to Citizen)
§ G2B ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business)
§ G2E ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee)



รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
                เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดําเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชําระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐ ที่ดําเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดําเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทํางานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์



รัฐ กับ เอกชน (G2B)
             เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอํานวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทาอิเล็กทรอนิกส์          การส่งออกและนําเข้า  การชําระภาษี  และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก



รัฐ กับ รัฐ (G2G)
                เป็นรูปแบบการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดย กระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดําเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทํางานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน (Government Data Exchan)  ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกบการทํางานในระบบเดิม


รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
                เป็นการให้บริการที่จําเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จําเป็นในการปฏิบัติงานและการดํารงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมายและข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Chapter8 : E-Marketing



        ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า การตลาดอิเล็กทรอนิกส์”    หมายถึง  การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัย และสะดวกต่อการใช้งานเข้ามาเป็นสื่อกลางไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์   โทรศัพท์ หรือพีดีเอ  ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยใช้อินเทอร์เน็ตมาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดอย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย  เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง



E-marketing plan
วัตถุประสงค์ของโครงสร้างการทำ  E-marketing Plan
·        การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่า
·        การสร้างรายได้
·        ช่องทางความร่วมมือ
·        การสื่อสารและการสร้างแบรนด์
E-marketing planning
การวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดของกลยุทธ์การทำ e–business
1.     Situation – where are we now?
2.     Objectives – where do we want to be?
3.     Strategy – how do we get there?
4.     Tactics – how exactly do we get there?
5.     Action – what is our plan?
6.     Control – did we get there?
ข้อดีของ E-marketing
          1. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากกว่า 800 ล้าน คน,  225 ประเทศ, 104 ภาษา
          2. สามารถวัดผลได้แม่นยำกว่าสื่ออื่น
          3. ราคาลงโฆษณาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น
          4. จำนวนผู้ใช้สื่อนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
          5. คุณภาพของผู้ใช้มีมากกว่าสื่ออื่น

Click and Click  เป็นการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว ไม่มีธุรกิจในโลกจริง




Click and Mortar เป็นรูปแบบทีมีธุรกิจจริง(Real) อยู่แล้วแต่ขยายมาทำใน อินเทอร์เน็ต




เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่าง 2 โมเดล
Click & Click
Click and Mortar
ข้อดี
ข้อดี
-ต้นทุนต่ำ ใช้คนน้อย
-มีความเชี่ยวชาญ
-เริ่มต้นได้ง่าย
-มีลูกค้าอยู่แล้ว
-เปิดกว้างมากกว่า
-น่าเชื่อถือ
-ไม่ต้องมีความชำนาญมาก ก็เริ่มทำได้
-รองรับลูกค้าได้ online และ offline
ข้อเสีย
ข้อเสีย
-ขาดความชำนาญ
-ต้นทุนสูง
-สร้างฐานลูกค้าใหม่
-ใช้เวลาในการจัดทำ
-ความน่าเชื่อถือมีน้อย
-การทำงานต้องยึดติดกับบริษัท

       


       การเริ่มต้นการตลาดออนไลน์
1.กำหนดเป้าหมาย  เป้าหมายในการทำเว็บ  คุณทำเว็บไปทำไม?
          - กลุ่มเป้าหมายของคนที่จะเข้าเว็บคุณคือใคร ?เช่น อายุ, เพศ, การศึกษา,ฐานเงินเดือน, Location, กลุ่มธุรกิจ , ความชอบ ฯลฯ
          -จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค์  (SWOT Analysis)
          -แหล่งรายไดข้องเว็บไซต์
          -จุดเด่น หรือจุดแตกต่าง (Differentiate) ของคุณกับเว็บอื่นๆ 
          -การหาลูกค้า
               Who – ลูกค้าคือใคร?
               Where – ลูกค้าอยู่ที่ไหน?
               What – อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ?
               Why – ทำไมเขาถึงต้องมาที่เรา?
               When – เมื่อไรที่เขาต้องการเรา?
2.ศึกษาคู่แข่ง
          -คู่แข่งคุณคือใคร ?
          -ศึกษารูปแบบการทำเว็บ, ธุรกิจของคู่แข่ง
          -จุดเด่น จุดอ่อนมีอะไรบ้าง
          -ศึกษาเคาเตอร์ (Stat) ของคู่แข่ง
          -เข้าร่วมเว็บบอร์ดของคู่แข่ง (ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ชอบไม่ชอบอะไร)
          -บอกรับจดหมายสมาชิกของคู่แข่ง
          -ขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์(ราคาโฆษณา, สถิติ)
          -เข้าชมเว็บคู่แข่งเป็นประจำ
3.สร้างพันธมิตร
          -เว็บคู่แข่ง
          -บุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเดียวกัน
          -เว็บอื่นๆ ที่สามารถร่วมมือกันได้
          -กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
          -การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ
• Online - Offline
• Win – Win – Win Solution รูปแบบของความร่วมมือ
การแลกเปลยีนสินค้ากับสินค้า Bartering Model
การแบ่งรายได้ (Revenue Sharing)
ความร่วมมือทางด้านบุคลากร ทรัพยากรและข้อมูล
สื่อ และช่องทางในการประชาสัมพันธ์
ได้ทุกอย่าง
4.ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น
     -เคาเตอร์วัดจำนวนเข้าตัวเก็บสถิติ(Stat) Free Stat Service (www.Truehit.net, www.nedstat.com)
          -เว็บบอร์ด Guest Book
ตัวเก็บนับจำนวนคนในเว็บไซต์ขณะนั้น Option
ห้าม Save ภาพในหน้าเว็บนั้น  เว็บที่สามารถไปหา Script ได้
          • www.thscripts.com
          • www.DynamicDrive.com
          • www.hotscripts.com
การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ผ่าน www.Truehits.net
เก็บข้อมูลผู้ที่เข้ามาเว็บไซต์เชิงลึก (วันเวลา, ประเทศ)
5 . ดูแลและปรับปรุงเว็บไซต์อยู่เสมอ
         ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้, คู่แข่ง, ตลาด, สภาพแวดล้อม, เทคโนโลยี  โดยการเปิดรับความคิดเห็นจากผู้ใช้, ปรับปรุงเว็บไซต์อยู่เสมอ, วางแผน, ปรับปรุง, โฆษณา และ ประเมินผล



วิธีการออกแบบแบนเนอร์
1.     ขนาดยิ่งใหญ่ยิ่งมีโอกาสการคลิกเยอะ
2.     เปลี่ยนแบนเนอร์บ่อยๆ(1แคมเปญ ควรมีอย่างน้อยแบนเนอร์ 2 แบบ)
3.     ใช้คำพูดที่จูงใจ  เช่น “โอกาสสุดท้าย, กดที่นี่”
4.     ฟรี! ยังเป็นคำที่มีอนุภาคมากที่สุด
5.     การใช้ภาพเคลื่อนไหวจะมีคนคลิกมากกว่าภาพนิ่ง
6.     การใช้เซ็กซ์ช่วย...ยังไงคนก็สนใจ
7.     ใช้สีสันโดดเด่น
8.     การออกแบบที่ดี
9.     ขนาดไฟล์ของแบนเนอร์ไม่ควรใหญ่จนเกินไป
10.ทำลิงค์ไปหน้าที่ต้องการหลังจากกดแบนเนอร์
11.ทดสอบแบนเนอร์ก่อนขึ้นจริง



Search Engine Marketing
     •  85%ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลกใช้ Search Engine
     • 87%ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต จะหาเว็บไซต์จาก Search Engine (ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Georgia Tech)
     •70% ของการซื้อขายอีคอมเมิร์ซเริ่มต้นจากการใช้ เสิร์ชค้นหา(Source: Forrester/IAB)
รูปแบบของ Search Engine
1.Natural Search Engine Optimization (SEO)
        เป็นการปรับแต่ง Key Word ให้ตรงกับเว็บไซต์ เมื่อมีการค้นหาผ่าน Search Engine ชื่อเว็บจะแสดงอยู่ในหน้ารายการของเว็บที่ค้นเจอ 
     ข้อดี     ฟรี Traffic, ผู้ชมจะคลิกในส่วนนีสูงถึง 60-70%
     ข้อเสีย  ใช้เวลานานในการขึ้นอันดับ
               สามารถเลือกจำนวน keyword ได้จำกัดแค่ 2-5 คำต่อเนื้อหาหนึ่งหน้าของเว็บเพจ,
               ไม่สามารถรักษาสถานะของอันดับได้แน่นอน
               ไม่สามารถวัดค่า ROI ที่แน่นอนใช้เวลานานกว่าจะรู้ผลของแต่ละคำ
2.Paid Search Advertising (Pay Per Click Advertising)
          เป็นการโฆษณาแบบ จ่ายเงินเพื่อทําให้เว็บของคุณ แสดงเมื่อมีการค้นหาใน Key Word ที่คุณกำหนดไว้ http://adwords.google.com
     ข้อดี   พร้อมใช้ในเวลาไม่ถึง 15 นาที
              แม้ว่า Search Engine จะเปลี่ยนแปลงการจัดใหม่อันดับของคุณจะคงที่อยู่เสมอ 
              สามารถเลือกจำนวน keyword ได้ไม่จำกัด
              ควบคุมค่าใช้จ่าย 
              สามารถวัดค่า ROI ได้แม่นยำและใช้เวลาไม่นาน
     ข้อเสีย ต้องเสียเงินทุกครั้งเมื่อมีคนคลิกAd
               ต้องใช้ทักษะที่ค่อนข้างสูงในการบริหารAd
วิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์-Online

  • ส่ง MSN, ICQ  หาเพื่อนๆ แล้วให้ส่งต่อ
  • โปรโมตธุรกิจบนเว็บบอร์ด หรือ Community ต่างๆ 
  • ใช้คนจำนวนมากในการเข้าไป "สร้างกระแส" ตามแหล่งต่างๆ ที่มีคนเยอะ
  • chat room, forums, discussion groups etc around the world
  • ใช้ความเป็นส่วนตัวเข้าไปสร้างกระแสสังคมใน Virtual Community ทำ Signature ใน E-Mali(Cut-Look, Hotmail)
  • ใส่ข่าวสารหรือโฆษณาลงไป
  • ลงทะเบียนใน Web directory, Search Engine
  • เขียนบทความที่อื่นๆ แล้วทำ link กลับมา
  • มีบริการทดลองใช้ฟรี
  • แจ้งผู้เข้าเยี่ยมชมเมื่อเว็บปรับปรุงใหม่
  • ให้ดาวน์โหลดฟรี
  • สร้างสีสันในเทศกาลต่างๆ ในเว็บไซต์
  • ระบบสมาชอกแนะนำสมาชิก
  • แจกรางวัลผู้มาเยี่ยมชม หรือบัตรกำนัลออนไลน์
  • จัดประกวดหรือ แข่งขันต่างๆ ภายในเว็บ
  • หมั่นคอยส่ง Mailina List หาสมาชิ
รูปแบบรายได้จากการทำเว็บไซต์
1. ขายโฆษณาออนไลน์
2. ขายสินค้า E-Commerce
3. ขายบริการหรือสมาชิก
4. ขายข้อมูล (Content)
5. การจัดกิจกรรม, งาน
6. การให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
7. การรับพัฒนาเว็บไซต์

6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ
          Content(ข้อมูล)  ข้อมูลใหม่สดเสมอ, มีความถูกต้อง, อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล
การจัดการและบริหารข้อมูล
          1.เว็บไซต์ที่มีข้อมูลไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย(Static Content)
          2.เว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลเสมอ(Dynamic Content)
รูปแบบของการหาข้อมูล
          1.ทางผู้จัดทำเว็บไซต์เป็นคนผลิตข้อมูลขึ้นมา(Self Feeding)
          2.มาจากผู้เข้าใช้บริการ(User Feeding)
          3.จากพันธมิตร(Partner Content)
          Community(ชุมชน,สังคม)  Community คือ การรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่อยู่ร่วมกันภายใต้สถานๆ หนึ่ง   โดยมีการพูดคุย หรือกิจจิกรรมร่วมกันภายในสถานที่แห่งนั้น
องค์ประกอบในการสร้าง Community ในเว็บไซต์
          1.เว็บบอร์ด (Web Board)
          2.พิกโพสต์ (Pic Post)
          3.ไดอารี หรือ บล็อก (Diary or Blog)
          4.ข่าว (News) + Web Board
          5.รวมลิงค์เว็บไซต์
          6.ห้องแชต (Chat Room)
          Commerce(การค้าขาย)  หรือการทำการค้าขายผ่านเว็บไซต์  ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์ได้  เช่นเว็บข้อมูล (Content), เว็บโปรแกรมมิ่ง, เว็บ Community, หรือเว็บโป๊  ก็สามารถ ทำ E-Commerce
การหาสินค้ามาขายผ่านหน้าเว็บ
          การซื้อสินค้ามาเก็บไว้
          การนำสินค้าจากแคตตาล๊อกมาขาย (จับเสือมือเปล่า)
          การนำสินค้าจากพันธมิตรมาขาย www.thaisecondhand.com/promotion
          Customization(การปรับให้เหมาะสม)  คือ รูปแบบการให้บริการที่สามารถปรับแต่งการใช้งานให้มีความเหมาะสมกับผู้ใช้บริการภายในเว็บไซต์
          การปรับแต่งข้อมูลเพื่อการบริการ (Service)  http://my.MSN.com
          •การปรับแต่งสินค้าเพื่อการค้า (Commerce)  www.Nike.com
          •การเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อการนำเสนอข้อมูล (Information) www.Amazon.com, www.nike.com
          Communication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)  คือ ช่องทางในการสื่อสาร  และติดต่อกับผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ของคุณ จริงๆ แล้วสิ่งที่คุณมีอยู่ในเว็บไซต์คุณคอื ข้อมูล (Content) หรือ บริการ (Service) ซึ่งเป็นเพียงแค่ ช่องทางในการ เข้าถึงข้อมูลหรือ บริการเหล่านั้น -โทรศัพท์มือถือ - บริการผ่าน WAP - บริการข้อมูลผ่าน SMS - PDA – ทางโทรศัพท์ปกติ  ให้บริการ Content บนมือถือ Hutch Revenue Sharing Hutch help marketing Technology provider Training http://www.hutch.co.th/msites
Hutch M-Site Program
          Convenience(ความสะดวกสบาย)
การใช้งานง่าย (Usability)
1.     "ดู" ง่าย
               • การวางรูปแบบ (Layout)
               • รูปภาพ และไอค่อน ( Image & Icon)
               • ขนาดตัวอักษร (Font) และการจัดหน้า
               • การออกแบบระบบนำทางที่ดี (Navigation) 
               • มี  Site map ในเว็บ
          2. "เรียนรู้" ได้ง่าย (easy to learn)
          3. "จดจำ" วิธีการใช้งานได้ง่าย
          4. "เข้าถึง" ได้ง่าย
          5. ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (efficient to use)
          6. การเจอปัญหาและการแก้ไข (Help & FAQ)